วันพุธที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 7
วันพุธ ที่ 2 กุมภาพันธ์ 2559 


ศึกษาดูงานที่โรงเรียนอนุบาลพิบูลเวศม์




ประวัติ 
        ที่ตั้ง 259/444 ซ.ปรีดีพนมยงค์ 13 ถ.สุขุมวิท 71 แขวงพระโขนงเหนือ เขตวัฒนา, 10110      กรุงเทพมหานคมีเนื้อที่ 3 ไร่ 2 งาน 76 ตารางวา เปิดสอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
คณะผู้บริหาร
นายสุวรรณ ยะรังวงษ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนอนุบาลพิบูลเวศม์
นายศรีจันทร์ ปัสสาคำรองผู้อำนวยการโรงเรียนฝ่ายบริหารวิชาการ และฝ่ายบริหารงานบุคคล
นายไพศาล เทียมเวชที่ปรึกษาฝ่ายบริหารงบประมาณ และบริหารงานทั่วไป
อาคารเรียน
1. อาคารเรียนแบบตึกพิเศษ 3 ชั้น (อาคาร 1) จำนวน 15 ห้องเรียน 
2. อาคารเรียนแบบตึกพิเศษ 3 ชั้น (อาคาร 2) จำนวน 17 ห้องเรียน
3. อาคารเรียนตึกพิเศษ 4 ชั้น (อาคาร 3) มีชั้นดาดฟ้า สามารถใช้เป็นที่เรียนกิจกรรมได้ มีห้องเรียน 48 ห้องเรียน  รวมอาคารเรียน 3 หลัง จำนวนห้องเรียนทั้งหมด 80 ห้องเรียน
ระดับปฐมวัย 
- อนุบาล 3 ขวบมีห้องเรียน 3 ห้องเรียน 
- อนุบาล 1 มีห้องเรียน 5 ห้องเรียน
- อนุบาล 2 มีห้องเรียน 5 ห้องเรียน
         จำนวนบุคลากรทั้งสิ้น 125 คน แยกเป็นฝ่ายบริหาร 1 คน ครู 80 คน  ครูชาวต่างชาติ 16 คน
 เจ้าหน้าที่ธุรการ 4 คน ลูกจ้างประจำ 8 คนและลูกจ้างชั่วคราว 16 คน
          มีนักเรียนทั้งสิ้น 1365 คน
จัดการศึกษา  2 หลักสูตร
1. โรงเรียนมาตรฐานสากล World class standard school
2. หลักสูตร Mini english program แบ่งเป็น 2 ระดับ คือ ระดับปฐมวัย ชั้นอนุบาล 3 ขวบ อนุบาลปีที่ 1 และอนุบาลปีที่ 2 ระดับปฐมศึกษาปีที่ 1- 6
ข้อมูลเพิ่มเติม

ห้องที่ศึกษา : ชั้นอนุบาลปีที่ 1/1
                        จำนวนเด็ก 25 คน
                        ครูประจำชั้น นางไพฑูรย์ ธนูรัตน์
                        นักศึกษาฝึกสอน นางสาวพิมพ์ชนก


หลักการของหลักสูตรปฐมวัยหรืออนุบาล การจัดการศึกษาปฐมวัย ควรประกอบไปด้วย
1. เน้นให้เด็กเป็นศูนย์กลาง มีความยืดหยุ่นและตอบสนองต่อเด็กเป็นรายบุคคล
2. มีการประสานมือกับผู้ปกครองเพื่อจะได้เข้าใจตรงกัน และปฏิบัติต่อเด็กให้สอดคล้องกัน พ่อ แม่ ปู ย่า
ตา ยาย ลุง ป้า น้า อา ก็ควรจะพูดหรือทำสิ่งใดก็ตามที่สอดคล้องกัน
3. จัดและให้ประสบการณ์แก่เด็กในมุมกว้าง และเชื่อมโยงความรู้เข้าหากันและต่อเนื่องกัน
4. ให้ความสำคัญกับการเล่นและการเรียนรู้ ผ่านการสำรวจด้วยตนเองตามวิธีที่เขาถนัด ซึ่งผู้ที่อยู่ใกล้ชิด
เด็กจะบอกได้ว่าเด็กมีความถนัดในทางไหน และจะใช้กุศโลบายแบบไหนจึงจะเป็นวิธีที่ส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กได้มากที่สุด
5. เน้นการพัฒนาด้านอารมณ์และสังคมของเด็ก เพื่อเขาจะได้อยู่ร่วมกับคนอื่นอย่างมีความสุข
6. ให้เด็กสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองอย่างอิสระ เพื่อเขาจะได้เกิดความภาคภูมิใจ และมองเห็นว่าตัวเอง
มีค่าและมีความสำคัญเท่าๆ กับที่เห็นคุณค่าและความสำคัญของคนอื่น

โรงเรียนมีการนำนวัตกรรมทางการศึกษามาใช้ ได้แก่
1.การจัดการเรียนการสอนแนวบูรณาการการจัดการเรียนการสอนแนวบูรณาการหมายถึงการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่นำความรู้ในศาสตร์ต่างๆมาเชื่อมโยงผสมผสานเข้าด้วยกันอย่างมีความหมาย เน้นการพัฒนาเด็กโดยองค์รวมให้เด็กได้ประยุกต์ใช้ความรู้และประสบการณ์ในชีวิตประจำวันและมีทักษะในกระบวนการเรียนรู้ผ่านการลงมือกระทำ
2.วอลดอร์ฟ (Waldort) การศึกษาแนวนี้มีความเชื่อว่า โรงเรียน คือ บ้าน ครู คือ แม่ นักเรียน คือ ลูก กิจกรรมการเรียนการสอนในโรงเรียนอนุบาลคือกิจกรรมงานบ้านในชีวิตประจำวันเน้นการจัดบรรยากาศในการเรียนให้เหมาะสม จัดสีในห้อง จัดแสงสว่างให้พอเหมาะสวยงาม เด็กจะเรียนรู้ทุกสิ่งทุกอย่างรอบตัวด้วยการเลียนแบบ ครูและผู้ปกครองเป็นแบบอย่างที่ดีให้เด็กเห็น
ข้อดี เด็กมีความพร้อมทุกด้าน ทั้งจิตใจ ร่างกาย และความคิดสร้างสรรค์ที่สำคัญพวกเขาเติบโตขึ้นอย่างที่เข้าใจการเอื้ออาศัยซึ่งกันและกันของสรรพชีวิตในโลกชอบลงมือทำงานด้วยตนเองและเข้าสังคมได้เป็นอย่างดี
3.Whole Language คือการสอนภาษาให้เด็กต้องเป็นการสอนภาษาที่สื่อความหมายการเรียนแบบนี้สามารถทำได้ดี เพราะในระดับอนุบาลเล็กๆ จะเรียนรู้ผ่านการเล่น ที่สำคัญคุณครูต้องเป็นแบบอย่างที่ดีทั้งการพูด ฟัง อ่าน เขียน เด็กจึงจะสามารถเรียนรู้ภาษาได้ดี เพราะครูเปรียบเสมือนสภาพแวดล้อมที่อยู่รอบๆ ตัวเด็ก
ข้อดี ของการเรียนวิธีนี้ คือ จะช่วยปลูกฝังให้เด็กรักการอ่าน รักหนังสือ เป็นการเตรียมความพร้อมเอาไว้ก่อนและสามารถนำไปใช้ได้แม้กระทั่งที่บ้าน หรือในชีวิตประจำวัน
4.Project Approach คือแนวคิดการให้เด็กได้ศึกษาลงลึกในเรื่องใดเรื่องหนึ่งตามที่เขาสนใจ เป็นการสอนแบบโครงการหรือแบบโครงงานเรียนรู้โดยการสืบค้นข้อมูลอย่างลึกในหัวเรื่องที่เด็กสนใจ
 มีกิจกรรม 5 ลักษณะ ประกอบด้วย
1. การอภิปราย
2. การศึกษานอกสถานที่ หรืองานในภาคสนาม  = 3 ระยะ 1.ระยะเริ่มต้น
3. การนำเสนอประสบการณ์เดิม                                         2.ระยะดำเนินโครงการ
4. การสืบค้น                                                                       3. ระยะสรุปโครงการ
5. การจัดแสดง
 
โครงการเรื่อง เจ้านกน้อย *เคลื่อนไหวเลียนแบบท่าทางของนก

กิจกรรมที่จัดให้เด็กปฐมวัยในแต่ละวัน
1.กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ เป็นกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้เคลื่อนไหวส่วนต่าง ๆ ของร่างกายอย่างอิสระตามจังหวะ ซึ่งจังหวะและดนตรีที่ใช้ประกอบได้แก่ เสียงตบมือ เสียงเพลง เสียงเคาะไม้ เคาะเหล็ก รำมะนา กลอง ฯลฯ

กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะหน้าเสาธง
                   
วิดีโอ การเคลื่อนไหวพื้นฐาน

วิดีโอ การเคลื่อนไหวอย่างอิสระ

วิดีโอ การคลื่อนไหวเลียนแบบท่าทางสัตว์

ประมวลภาพกิจกรรม



เครื่องเคาะจังหวะสำหรับครู
2.กิจกรรมสร้างสรรค์ เป็นกิจกรรมเกี่ยวกับงานศิลปศึกษาต่าง ๆ ได้แก่ การวาดภาพระบายสี การปั้น การพิมพ์ภาพ การพับ ตัด ฉีก ปะ และประดิษฐุ์เศษวัสดุ ที่มุ่งพัฒนากระบวนการคิดสร้างสรรค์ การรับรู้เกี่ยวกับความงามและส่งเสริมกระตุ้นให้เด็กแต่ละคนได้แสดงออกตามความรู้สึกและความสามารถของตนเอง
วาดภาพระบายสี อนุบาล 2
3.กิจกรรมเสรีเป็นกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้เล่นกับสื่อและเครื่องเล่นอย่างอิสระในมุมการเล่นกิจกรรมการเล่นแต่ละประเภทสนองตอบความต้องการตามธรรมชาติของเด็ก
บล็อก
4.กิจกรรมเสริมประสบการณ์ เป็นกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้ฟัง พูด สังเกต คิด และปฏิบัติการทดลอง ให้เกิดความคิดรวบยอดและเพิ่มพูนทักษะต่างๆด้วยวิธีการหลากหลายเช่นการสนทนา ซักถามหรืออภิปราย สังเกต ทัศนศึกษา และปฏิบัติการทดลองตามกระบวนการเรียนรู้
กิจกรรมวงกลม
5.กิจกรรมกลางแจ้ง เป็นกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้ออกนอกห้องเรียนไปสู่สนามเด็กเล่นทั้งที่บริเวณกลางแจ้งและในร่มเพื่อเปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงออกอย่างอิสระโดยยึดเอาความสนใจและความสามารถของเด็กแต่ละคนเป็นหลัก
6. กิจกรรมเกมการศึกษา เป็นกิจกรรมการเล่นที่มีกระบวนการในการเล่นตามชนิดของเกมประเภท
ต่าง ๆ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งที่เรียน

วิธีการประเมิน
  การประเมินพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยควรเป็นการประเมินอย่างไม่เป็นทางการ โดยวิธีการที่เหมาะสมในการประเมินพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย ได้แก่
1.เก็บรวบรวมข้อมูล ครูควรวางแผนการเก็บรวบรวมข้อมูลควบคู่กับการจัดประสบการณ์ โดยเป็นการวางแผนล่วงหน้า ทั้งนี้ วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยมีดังนี้

        1.1 การสังเกตและบันทึกพฤติกรรมหรือคำพูดของเด็ก ครูควรใช้เวลาในการสังเกตและเฝ้าดูเด็ก เพื่อให้ทราบว่าเด็กแต่ละคนมีจุดเด่น ความต้องการ ความสนใจ และต้องการความช่วยเหลือในเรื่องใด ทั้งนี้ ครูต้องกำหนดเวลา แนวทางที่ชัดเจน และจดบันทึกไว้เพื่อนำมาใช้ในวิเคราะห์และสรุป 
       1.2 การสนทนากับเด็ก ครูสามารถใช้การสนทนากับเด็กได้ทั้งแบบรายบุคคลและเป็นกลุ่มอย่างสอดคล้องกับกิจวัตรประจำวัน เพื่อประเมินความสามารถในการแสดงความคิดเห็น พัฒนาการด้านการใช้ภาษา ฯลฯ เช่น เมื่อครูเล่านิทานให้เด็กฟังแล้ว ครูอาจถามคำถามให้เด็กแสดงความคิดเห็นจากเรื่องที่ฟังเพื่อให้รู้ความคิดของเด็กทั้งนี้ครูควรจดบันทึกคำพูดของเด็กไว้เพื่อการวิเคราะห์และปรับการจัดประสบการณ์ให้เหมาะสมต่อไป ในกรณีที่ต้องการสนทนากับเด็กเป็นรายบุคคล ครูควรพูดคุยในสภาวะที่เหมาะสม ไม่ทำให้เด็กเครียดหรือเกิดความวิตกกังวล
     1.3 การเก็บตัวอย่างผลงานที่แสดงความก้าวหน้าของเด็ก เป็นวิธีการที่ครูรวบรวมและจัดระบบตัวอย่างผลงานที่แสดงความก้าวหน้าของเด็กจากชิ้นงานที่เด็กสร้างขึ้นในกิจวัตรประจำวันครูควรกำหนดจุดมุ่งหมายที่ชัดเจนในการเก็บรวบรวมผลงานเช่นเก็บตัวอย่างผลงานการตัดกระดาษที่แสดงการเปลี่ยนแปลงพัฒนาการด้านการตัดกระดาษของเด็กเดือนละ 1 ชิ้นงาน แล้วนำมาจัดรวบรวมไว้อย่างเป็นระบบ เป็นต้น การเก็บสะสมผลงานอย่างต่อเนื่องนี้ครูต้องประเมินว่าผลงานแต่ละชิ้นแสดงความก้าวหน้าของเด็กอย่างไร ไม่ใช่การนำมาเก็บรวมกันไว้เฉยๆ ครูอาจให้เด็กมีส่วนร่วมในการเลือกและจัดเก็บผลงาน และครูสามารถนำผลงานที่จัดรวบรวมไว้อย่างเป็นระบบมาใช้ในการสื่อสารกับผู้ปกครองให้รับทราบเกี่ยวกับความก้าวหน้าของเด็กด้วย
        วิธีการรวบรวมข้อมูลเพื่อการประเมินพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กที่ดีต้องใช้วิธีการที่หลากหลาย ไม่ใช่วิธีใดวิธีหนึ่ง โดยให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เช่น พ่อแม่ หรือครูผู้ช่วยมีส่วนร่วมในการรวบรวมข้อมูลด้วย เพราะวิธีการแต่ละวิธีจะมีจุดแข็งและจุดอ่อนที่แตกต่างกัน มีความเหมาะสมกับลักษณะของข้อมูลที่แตกต่างกัน โดยวิธีการที่นำเสนอข้างต้นเป็นวิธีที่ครูต้องฝึกฝนจนมีทักษะในการสังเกตเด็ก พูดคุยกับเด็กและพ่อแม่อย่างเหมาะสม รวมทั้งมีความไวต่อสิ่งที่ควรบันทึกหรือเก็บตัวอย่าง หากครูมีทักษะเหล่านี้ก็จะทำให้การประเมินตรงตามสภาพจริงยิ่งขึ้น
2.วิเคราะห์และจัดทำบันทึกข้อมูลของเด็ก ครูควรนำข้อมูลที่เก็บรวบรวมไว้มาวิเคราะห์ และจัดทำบันทึกข้อมูลของเด็ก ทั้งในลักษณะของบันทึกข้อมูลเด็กรายบุคคล และบันทึกข้อมูลเด็กทั้งชั้นเรียน ดังนี้
      
     2.1 บันทึกข้อมูลเด็กรายบุคคล การทำบันทึกข้อมูลเด็กรายบุคคลจะช่วยให้ครูรู้จักความสามารถที่แท้จริงของเด็ก ทำให้ครูติดตามความก้าวหน้าของเด็กได้อย่างต่อเนื่อง อีกทั้งยังช่วยให้ครูประเมินเด็กอย่างครอบคลุมทุกรายการประเมิน ครูที่ทำบันทึกข้อมูลเด็กเป็นรายบุคคลจะสามารถช่วยส่งเสริมความสามารถของเด็ก หรือให้ความช่วยเหลือเด็กได้อย่างเหมาะสม 
         2.2 บันทึกข้อมูลเด็กทั้งชั้นเรียน การทำบันทึกข้อมูลเด็กทั้งชั้นเรียนช่วยให้ครูรู้ว่าเด็กในห้องเรียนที่รับผิดชอบมีความสามารถหรือมีพัฒนาการในแต่ละด้านเป็นอย่างไร ส่งผลให้ครูสามารถออกแบบการจัดประสบการณ์ได้เหมาะสมกับเด็กในชั้นเรียนมากยิ่งขึ้นอีกทั้งยังแสดงให้เห็นความก้าวหน้าของเด็กทั้งชั้นเรียน การสรุปเช่นนี้ควรทำเป็นระยะอย่างต่อเนื่องเพื่อให้สามารถนำมาใช้ได้อย่างเหมาะสม

ประเมินพัฒนาการเด็กทั้ง 4 ด้าน
เครื่องมือที่ใช้  การบันทึกการสังเกตพฤติกรรมเด็ก( Observation )
                        - การสัมภาษณ์ ( Interview )
                        - การเขียนบันทึกเกี่ยวกับตัวเด็ก(Anecdotes )
                        - แฟ้มผลงานเด็ก ( Portfolios )
                        - การใช้แบบประเมินผลพัฒนาการ(Checklists )
                        - การเขียนบันทึก ( Journal )
                        - การทำสังคมมิติ ( Sociogram )
หลักการประเมิน
1. ประเมินพัฒนาการของเด็กครบทุกด้านและนำผลมาพัฒนาเด็ก
2. ประเมินเป็นรายบุคคลอย่างสม่ำเสมอ
3. สภาพการประเมินควรมีลักษณะเช่นเดียวกับกิจกรรมประจำวัน
4. ประเมินอย่างเป็นระบบ มีการวางแผนเลือกใช้เครื่องมือ และจดบันทึกไว้เป็นหลักฐาน
5. ประเมินตามสภาพจริงด้วยวิธีการหลากหลายเหมาะกับเด็ก รวมทั้งใช้แหล่งข้อมูลหลายๆด้าน 

การจัดสภาพแวดล้อม
          การจัดบรรยากาศภายในห้องเรียน อาคารเรียน และบริเวณโรงเรียนเป็นองค์ประกอบสำหรับการจัดการศึกษาวอลดอร์ฟ การศึกษาแนวนี้มีความเชื่อว่า โรงเรียน คือ บ้าน ครู คือ แม่ นักเรียน คือ ลูก กิจกรรมการเรียนการสอนในโรงเรียนอนุบาลคือกิจกรรมงานบ้านในชีวิตประจำวันเน้นการจัดบรรยากาศในการเรียนให้เหมาะสม จัดสีในห้อง จัดแสงสว่างให้พอเหมาะสวยงาม ผลงานของเด็กต้องนำมาประดับห้องเรียนเสมอ ความงดงามของธรรมชาติจะปรากฏอยู่ทั้งบริเวณกลางแจ้งและภายในอาคาร มีการนำภาพศิลปะ งานประติมากรรม กลิ่นหอมของธรรมชาติเข้ามาตกแต่ง ทำให้บรรยากาศของโรงเรียนสงบ และอ่อนโยน ภายใต้แนวคิดที่ว่า เด็กวัย 0 - 7 ปี เป็นวัยที่เรียนรู้จากการเลียนแบบ สิ่งที่เด็กเลียนแบบในช่วงนี้จะฝังลึกลงไปในเด็ก หล่อหลอมเด็กทั้งกายและจิตวิญญาณ และฝังแน่นไปจนโต
สภาพแวดล้อมภายในห้องเรียน
         บริเวณภายในห้องควรจะเป็นกันเอง และสว่างไสวเพียงพอ
 ควรมีอ่างล้างมือขนาดใหญ่ที่อยู่ในระดับต่ำพอที่เด็กๆ จะเอื้อมมือถึงระดับน้ำได้ง่าย ลอยเรือลำเล็กๆ หรือ แช่กระดาษวาดเขียนได้ มีช่องเก็บของส่วนตัวของเด็กแต่ละคน มีตู้ขนาดใหญ่สำหรับเก็บวัสดุที่ครูต้องใช้ มีชั้นสำหรับวางอุปกรณ์และของเล่น อาจมีมุมตุ๊กตา มุมงานช่าง มีโต๊ะสำหรับทำกิจกรรมที่มีน้ำหนักเบาที่เคลื่อนย้ายได้ของเล่นที่จัดไว้เป็นของเล่นที่มีความสมบูรณ์น้อยแต่ชี้ช่องทางในการเล่นได้มาก เช่น ตุ๊กตาที่ไม่ได้วาดหน้าไว้อย่างตายตัว นอกจากนี้ยังให้ความสำคัญต่อการเลือกใช้สีน้ำ พู่กัน กระดาษ สีเทียน ขี้ผึ้ง ที่มีคุณสมบัติพิเศษเฉพาะอีกด้วย
วัสดุจากธรรมชาติ
สภาพแวดล้อมภายนอกห้องเรียน
           บริเวณกลางแจ้งแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกเป็นสนามเด็กเล่นอยู่ติดกับตัวอาคาร โดยจัดให้ใช้ได้ในสภาพภูมิอากาศที่หลากหลาย พื้นผิวควรแข็งเพื่อให้แห้งเร็วเมื่อฝนตก ควรตั้งอยู่ทางด้านที่แดดส่องถึง เพื่อให้เด็กๆ ได้รับแสงแดดยามเช้า บ่อทรายควรอยู่บริเวณนี้ ไม้เลื้อยบนกำแพง ต้นไม้ และแปลงดอกไม้ช่วยให้บริเวณนี้เป็นสถานที่ที่น่าสบายสำหรับเด็กๆ ส่วนที่สองอยู่ห่างจากตัวอาคารใช้เป็นที่เล่นและออกกำลังกาย ควรจัดเป็นอาณาจักรสำหรับเด็ก ทำทางสำหรับรถเข็นและทางสำหรับเดิน โดยออกแบบทางเดินให้โค้งไปมาน่าเดินและผ่านจุดที่น่าสนใจ เนินเขาเป็นจุดเสริมที่มีคุณค่ามากในสนามเด็กจะได้วิ่งขึ้นและลงเป็นการใช้กล้ามเนื้อหลายส่วนอย่างเป็นอิสระและเป็นธรรมชาติส่วนหนึ่งของพื้นที่เป็นที่ตั้งของชิงช้า ไม้ลื่น ต้นไม้พุ่มเตี้ยๆ และปลูกไม้ดอกหรือพืชผักสวนครัว
สื่อ เป็นสื่อที่ทำจากไม้ สื่อวัสดุอุปกรณ์ที่ทำจากธรรมชาติ


กิจกรรมนอกเวลา

การเรียนการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
 
ความรู้ที่ได้รับ
    1. ได้ความรู้เรื่องการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดนวัตกรรมทางการศึกษา
    2. รู้วิธีการจัดสภาพแวดล้อม สื่อ ภายในและนอกห้องเรียน
    3. ได้กิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะหลากหลายสามารถนำไปปรับใช้ได้
    4. เข้าใจวิธีการสอนเด็กอย่างถูกต้อง
    5. มีความเข้าใจเรื่องที่ ทำไมบางโรงเรียนถึงมีอนุบาล 3 และทำไมบางโรงเรียนไม่มี
    6. รู้วิธีการประเมินที่หลากหลาย และควรประเมินเด็กตามสภาพจริง
    7. รู้จักนำศาสตร์ต่างๆมาเชื่อมโยงเข้าด้วยกันโดยการทำแผนที่ครอบคลุมถึงพัฒนาการทุกด้าน

ความประทับใจ
          รู้สึกประทับใจในการต้อนรับของทางดูโรงเรียนที่ดูแลคณะนักศึกษาเป็นอย่างดี ทั้งอาหาร ความรู้ ความสะดวกต่างๆครูและวิทยาการทุกท่านเป็นกันเองกับนักศึกษาทำให้บรรยากาศในการอบรมไม่เครียดสนุกสนานร่วมนันทนาการไปกับนักศึกษาด้วยเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ถามข้อสงสัยและพาชมบรรยากาศจริงภายในห้องเรียนที่มีเด็กๆกำลังทำกิจกรรมอยู่จริง เด็กๆในโรงเรียนก็น่ารักเมื่อเจอหน้าเด็กก็ไหว้ สวัสดีค่ะคุณครู ชมว่าสวยด้วยค่ะ >< 




การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

1. นำความรู้เรื่องการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดนวัตกรรมทางการศึกษาหลายรูปแบบไปใช้   
2. รู้วิธีการจัดสภาพแวดล้อม สื่อ ที่เหมาะสม ทั้งภายในและนอกห้องเรียน   
3. ได้เรียนรู้กิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะหลากหลายสามารถนำไปปรับใช้ได้   

4. มีวิธีการสอนเด็กอย่างถูกต้อง    

5. รู้วิธีการประเมินเด็กที่หลากหลาย และควรประเมินเด็กตามสภาพจริง   

6. รู้จักนำศาสตร์ต่างๆมาเชื่อมโยงเข้าด้วยกันโดยการทำแผนการสอนที่ครอบคลุมถึงพัฒนาการทุกด้าน
ประเมินผล

ประเมินตนเอง - เข้าอบรมตรงเวลา ตั้งใจฟังและให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี
ประเมินเพื่อน - เพื่อนทุกคนตั้งใจฟังการอบรม
ประเมินอาจารย์ - อาจารย์ทั้งสองดูแลนักศึกษาเป็นอย่างดี ให้ความรู้ความเข้าใจเพื่อให้นักศึกษาได้ประโยชน์สูงสุดจากการมาอบรมครั้งนี้


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น