บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 4
วันจันทร์ ที่ 1 กุมภาพันธ์ 2559
ทฤษฎีการเคลื่อนไหว
ทฤษฎีการเคลื่อนไหวทางด้านร่างกายสำหรับเด็กปฐมวัย
ทฤษฎีการเคลื่อนไหวทางด้านร่างกายของอาร์โนลด์ กีเซลล์

กีเซลล์ ได้แบ่งพัฒนาการเด็กออกเป็น
4 ด้าน ดังนี้
1.
พฤติกรรมด้านการเคลื่อนไหว เป็นความสามารถของร่างกายที่ครอบคลุมถึงการบังคับอวัยวะต่าง
ๆ ของร่างกายและความสัมพันธ์ ทางด้านการเคลื่อนไหวทั้งหมด 2. พฤติกรรมด้านการปรับตัว เป็นความสามารถในการประสานงานระหว่างระบบการเคลื่อนไหวกับระบบความรู้สึก เช่น การ ประสานงานระหว่างตากับมือ
3. พฤติกรรมทางด้านภาษา จะเป็นการแสดงออกทางหน้าตาและ
4. พฤติกรรมทางด้านนิสัยส่วนตัวและสังคม เป็นความสามารถในการปรับตัวของเด็ก ระหว่างบุคคลกับบุคคลและบุคคลกับกลุ่มภายใต้ภาวะ แวดล้อมและสภาพความเป็นจริง
ทฤษฎีการเรียนรู้ของบรูเนอร์ (Jerome
S. Bruner)

ทฤษฎีของบรูเนอร์เน้นหลักการ
กระบวนการคิด ซึ่งประกอบด้วย ลักษณะ 4 ข้อ
คือ
1.แรงจูงใจ
(Motivation)
2.โครงสร้าง
(Structure)
3.ลำดับขั้นความต่อเนื่อง
(Sequence)
4.การเสริมแรง
(Reinforcement)
บรูเนอร์แบ่งขั้นพัฒนาการการเรียนรู้ของมนุษย์ออกเป็น 3 ขั้น
คือ
1. ขั้นการกระทำ (Enactive
Stage) เด็กเรียนรู้จากการกระทำและการสัมผัส
2. ขั้นคิดจินตนาการหรือสร้างมโนภาพ
(Piconic
Stage) เด็กเกิดความคิดจากการรับรู้ตามความเป็นจริง
และการคิดจากจินตนาการ
3. ขั้นใช้สัญลักษณ์และคิดรวบยอด
(Symbolic
Stage) เด็กเริ่มเข้าใจเรียนรู้ความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง
ๆ รอบตัว และพัฒนาความคิดรวบยอดเกี่ยวกับ
สิ่งที่พบเห็น
ทฤษฎีสร้างสรรค์ของกิลฟอร์ด

Guilford (1967 : 145-151)
ได้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับองค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์ไว้ดังนี้
1. ความคิดริเริ่ม (Originality) หมายถึง
ความคิดแปลกใหม่ไม่ซ้ำกันกับความคิดของคนอื่น และแตกต่างจากความคิดธรรมดา
ความคิดริเริ่มอาจเกิดจากการคิดจากเดิมที่มีอยู่แล้วให้แปลกแตกต่างจากที่เคยเห็น
หรือสามารถพลิกแพลงให้กลายเป็นสิ่งที่ไม่เคยคาดคิด
ความคิดริเริ่มอาจเป็นการนำเอาความคิดเก่ามาปรุงแต่งผสมผสานจนเกิดเป็นของใหม่
ความคิดริเริ่มมีหลายระดับซึ่งอาจเป็นความคิดครั้งแรกที่เกิดขึ้นโดยไม่มีใครสอนแม้ความคิดนั้นจะมีผู้อื่นคิดไว้ก่อนแล้วก็ตาม
2. ความคิดคล่องแคล่ว (Fluency) หมายถึง
ปริมาณความคิดที่ไม่ซ้ำกันในเรื่องเดียวกัน โดยแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้
2.1 ความคล่องแคล่วทางด้านถ้อยคำ (Word Fluency) เป็นความสามารถในการใช้ถ้อยคำอย่างคล่องแคล่ว
2.2 ความคิดคล่องแคล่วทางด้านการโยงสัมพันธ์ (Associational
Fluency) เป็นความสามารถที่จะคิดหาถ้อยคำที่เหมือนกันได้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ภายในเวลาที่กำหนด
2.3 ความคล่องแคล่วทางด้านการแสดงออก (Expression Fluency) เป็นความสามารถในการใช้วลีหรือประโยค
กล่าวคือ สามารถที่จะนำคำมาเรียงกันอย่างรวดเร็วเพื่อให้ได้ประโยคที่ต้องการ
2.4 ความคล่องแคล่วในการคิด (Ideational Fluency) เป็นความสามารถที่จะคิดค้นสิ่งที่ต้องการภายในเวลาที่กำหนด
เช่น ใช้คิดหาประโยชน์ของก้อนอิฐให้ได้มากที่สุดภายในเวลาที่กำหนดซึ่งอาจเป็น 5
นาที หรือ 10 นาที
3. ความคิดยืดหยุ่น (Flexibility) หมายถึง ประเภทหรือแบบของการคิดแบ่งออกเป็น
3.1 ความคิดยืดหยุ่นที่เกิดขึ้นทันที (Spontaneous Flexibility) เป็นความสามารถที่จะพยายามคิดได้หลายทางอย่างอิสระ
ตัวอย่างของคนที่มีความคิดยืดหยุ่นในด้านนี้จะคิดได้ว่าประโยชน์ของหนังสือพิมพ์มีอะไรบ้าง
ความคิดของผู้ที่ยืดหยุ่นสามารถจัดกลุ่มได้หลายทิศทางหรือหลายด้าน เช่น
เพื่อรู้ข่าวสาร เพื่อโฆษณาสินค้า เพื่อธุรกิจ ฯลฯ
ในขณะที่คนที่ไม่มีความคิดสร้างสรรค์จะคิดได้เพียงทิศทางเดียว คือ เพื่อรู้ข่าวสาร
เท่านั้น
3.2 ความคิดยืดหยุ่นทางด้านการดัดแปลง (Adaptive Flexibility) หมายถึง
ความสามารถในการดัดแปลงความรู้ หรือประสบการณให้เกิดประโยชน์หลายๆ ด้าน
ซึ่งมีประโยชน์ต่อการแก้ปัญหา ผู้ที่มีความยืดหยุ่นจะคิดดัดแปลงได้ไม่ซ้ำกัน
4. ความคิดละเอียดละออ (Elaboration) หมายถึง
ความคิดในรายละเอียดเป็นขั้นตอน สามารถอธิบายให้เห็นภาพชัดเจน หรือเป็นแผนงานที่สมบูรณ์ขึ้น
ความคิดละเอียดละออจัดเป็นรายละเอียดที่นำมาตกแต่ง
ขยายความคิดครั้งแรกให้สมบูรณ์ขึ้น
ทฤษฎีเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหว
คือ เป็นความสามารถในการคิด จินตนาการ
ความคิดแปลกใหม่โดยอาศัยความคิดและประสบการณ์เดิมแล้วนำมาปรับปรุง
มีการคิดได้อย่างอิสระคิดอย่างเป็นขั้นเป็นตอน
จะแสดงออกโดยการเคลื่อนไหวและออกแบบท่าทางต่างๆขึ้นมาตามความคิดของเด็กเอง เช่น
การที่เด็กจินตนาการคิดว่าตนเองเป็นผีเสื้อ
เด็กจะทำการคิดผ่านกระบวนการต่างๆแล้วแสดงออกมาเป็นท่าทางของผีเสื้อ เช่น
ผีเสื้อมีปีก ผีเสื้อต้องบิน เป็นต้น
ทฤษฎีความคิดสร้างสรรค์ของทอร์แรนซ์

อี พอล ทอร์แรนซ์ (E. Paul Torrance) นิยามความคิดสร้างสรรค์ว่าเป็นกระบวนการของความรู้สึกไวต่อปัญหา หรือสิ่งที่บกพร่องขาดหายไปแล้วรวบรวมความคิดตั้งเป็นสมมติฐานขึ้น ต่อจากนั้นก็ทำการรวบรวมข้อมูลต่างๆ เพื่อทดสอบสมมติฐานนั้น
Torrance เป็นผู้ที่มีชื่อเสียงโด่งดังท่านหนึ่งทางด้านความคิดสร้างสรรค์
ได้สร้างทฤษฎีและแบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์ที่ใช้กันในหลายประเทศทั่วโลก
เขากล่าวว่า ความคิดสร้างสรรค์จะแสดงออกตลอดกระบวนการของความรู้สึกหรือการเห็นปัญหาการรวบรวมความคิดเพื่อตั้งเป็นข้อสมมติฐาน
การทดสอบ และดัดแปลงสมมติฐานตลอดจนวิธการเผยแพร่ผลสรุปที่ได้ความคิดสร้างสรรค์
จึงเปนกระบวนการแก้ ปัญหาทางวิทยาศาสตร์นั่นเอง และทอร์แรนซ์เรียกกระบวนการลักษณะนี้ว่ากระบวนการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรคค์หรือ “The creative problem solving process”
กระบวนการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์แบ่งออกได้
5 ขั้นตอนดังนี้
ขั้นที่ 1 การพบความจริง (Fact – Finding) ในขั้นนี้เริ่มตั้งแต่ความรู้สึกกังวล
มีความสับสน วุ่นวาย เกิดขึ้นในจิตใจ แต่ไม่สามารถบอกได้ว่าเป็นอะไร
จากจุดนี้ก็พยายามตั้งสติ และหาข้อมูลพิจารณาดูว่าความยุ่งยาก วุ่นวาย สับสน
หรือสิ่งที่ทำให้กังวลใจนั้นคืออะไร
ขั้นที่ 2 การค้นพบปัญหา ( Problem – Finding) ขั้นนี้เกิดต่อจากขั้นที่ 1
เมื่อได้พิจารณาโดยรอบคอบแล้ว จึงเข้าใจและสรุปว่า ความสับสนวุ่นวายนั้นก็คือ
การเกิดปัญหานั่นเอง
ขั้นที่ 3 การตั้งสมมติฐาน ( Idea – Finding ) ขั้นนี้ต่อจากขั้นที่ 2
เมื่อรู้ว่ามีปัญหาเกิดขึ้นก็จะพยายามคิดและตั้งสมมติฐาน และรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ
เพื่อนำไปใช้ในการทดสอบสมมติฐานในขั้นที่ 3
ขั้นที่ 4 การแก้ปัญหา ( Solution – Finding) ในขั้นนี้จะพบคำตอบจากการทดสอบสมมติฐานในขั้นที่
3
ขั้นที่ 5 ยอมรับผลจากการค้นพบ ( Acceptance – finding) ขั้นนี้เป็การยอมรับคำตอบที่ได้จากการพิสูจน์เรียบร้อยแล้ว่าน่าจะแก้ปัญหาให้สำเร็จได้อย่างไร
แต่ต่อจากจุดนี้การแก้ปัญหาหรือการค้นพบยังไม่จนตรงนี้
แต่ผลที่ได้จากการค้นพบจะนำไปสู่หนทางที่จะทำให้เกิดแนวคิดหรือสิ่งใหม่ต่อไปที่เรียกว่า
New Challent
Torrance
ได้กําหนดขั้นตอนของความคิดสร้างสรรค์ออกเป็น 4 ขั้นดังนี้
1. ขั้นเริ่มคิด คือ ขั้นพยายามรวบรวมข้อเท็จจรงิ เรื่องราวและแนวคิดต่าง
ๆ ที่มีอยู่เข้าดัวยกันเพื่อหาความกระจ่างในปัญหา ซึ่งยังไม่ทราบว่าผลที่จะเกิดขึ้นนั้นจะเป็นไปในรูปแบบใดและอาจใช้เวลานานจนบางครั้งจะเกิดขึ้นโดยไม่รู้สึกตัว
2. ขั้นครุ่นคิด คือ
ขั้นที่ผู้คิดต้องใช้ความคิดอย่างแต่บางครั้งความคิดอันนี้อาจหยุดชะงักไปเฉยๆเป็นเวลานาน
บางครั้งก็จะกลับมาเกิดขึ้นใหม่อีก
3. ขั้นเกิดความคิด คือ ขั้นที่ความคิดจะมองเห็นความสัมพันธ์ของความคิดใหม่ที่ซ้ำกับความคิดเก่าๆซึ่งมีผู้คิดมาแล้ว
การมองเห็นความสัมพันธ์ในแนวความคิดใหม่นี้จะเกิดขึ้นในทันทีทันใด
ผู้คิดไม่ได้นึกฝันว่าจะเกิดขึ้นเลย
4. ขั้นปรับปรุง คือ ขั้นการขัดเกลาความคิดนั้นให้หมดจดเพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจได้ง่ายหรือต่อเติมเสริมแต่งความคิดที่เกิดขึ้นใหม่นั้นให้รัดกุมและวิวัฒนาการก้าวหน้าต่อไป
ในบางกรณีก่อให้เกิดการประดิษฐ์ผลงานใหม่ๆทางวิทยาศาสตร์ นวนิยาย บทเพลง จิตรกรรม
และการออกแบบอื่นๆ เป็นต้น
ทฤษฎีเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหว
ความคิดสร้างสรรค์ว่าเป็นกระบวนการของความรู้สึก หากเด็กรู้สึกอย่างไรก็จะมีการแสดงออกและเคลื่อนไหวออกมาแบบนั้น
เช่น เด็กฟังเพลงเด็กมีความรู้สึกที่ดีต่อเพลงๆนั้น
เด็กก็จะเคลื่อนไหวและแสดงออกมาตามบทเพลงที่เด็กได้ฟัง
ทฤษฎีการเคลื่อนไหวด้านสังคม
ทฤษฎีของอิริคสัน
อิริสันเป็นลูกศิษย์ของฟรอยด์ได้สร้างทฤษฏีขึ้นในแนวคิดของฟรอยด์
แต่ได้เน้นความสําคัญของทางด้านสังคม วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมด้านจิตใจว่ามีบทบาทในการพัฒนาการบุคลิกภาพมาก
ความคิดของอิริสันต่างกับฟรอยด์หลายประการ
เป็นต้นว่าเห็นความสําคัญของEgo
มากว่า Id
และถือว่าพัฒนาการของคนไม่ได้จบแค่วัยรุ่น
แต่ต่อไปจนกระทั่งวาระสุดท้ายของชีวิต
ด้วยเหตุที่อิริสันเน้นกระบวนการทางสังคมว่าเป็นจุดกระตุ้นหล่อหลอมบุคลิกภาพ
เขาจึงได้เรียกทฤษฎีของเขาว่า เป็นทฤษฏีจิตสังคม
ทฤษฎีของอิริคสัน เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวอย่างไร
ตามทฤษฎีอาจกล่าวได้ว่าเด็กมักมีความเป็นตัวของตัวเองอย่างอิสระ
ต้องการที่จะเรียนรู้และทำอะไรด้วยตนเอง และในวัยนี้มักมีการเคลื่อนไหวจากการเล่น
ซึ่งถือเป็นสิ่งสำคัญในการเรียนรู้ของเด็กวัยนี้
อัลเบิร์ต
แบนดูรา กล่าวว่า
การเรียนรู้ของมนุษย์นั้นเกิดจากพฤติกรรมบุคคลนั้นมีการปฏิสัมพันธ์ อย่างต่อเนื่องระหว่างบุคคลนั้น
และสิ่งแวดล้อม
ซึ่งทฤษฎีนี้เน้นบุคคลเกิดการเรียนรู้โดยการให้ตัวแบบ
โดยผู้เรียนจะเลียนแบบจากตัวแบบ
และการเลียนแบบนี้เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง
โดยอาศัยการสังเกตพฤติกรรมของตัวแบบ การสังเกตการณ์ตอบสนองและปฏิกิริยาต่าง ๆ
ของตัวแบบ สภาพแวดล้อมของตัวแบบ
ผลการกระทำ
คำบอกเล่า และความน่าเชื่อถือของตัวแบบได้ การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยจึงเกิดขึ้นได้
ซึ่งกระบวนการต่าง ๆ ของการเลียนแบบของเด็ก ประกอบด้วย 4 กระบวนการ
ทฤษฎีของอิริคสัน

อิริคสันได้แบ่งพัฒนาการของบุคลิกภาพออกเป็น
8 ขั้น ดังต่อไปนี้
ขั้นที่ 1 ขั้นความไว้วางใจ-ความไม่ไว้วางใจ
ซึ่งเป็นขั้นในวัยทารก
อีริคสันถือว่าเป็นรากฐานที่สำคัญของพัฒนาการในวัยต่อไป
เด็กวัยทารกจำเป็นจะต้องมีผู้เลี้ยงดูเพราะช่วยตนเองไม่ได้
ผู้เลี้ยงดูจะต้องเอาใจใส่เด็ก
ขั้นที่ 2 ความเป็นตัวของตัวเองอย่างอิสระ
– ความสงสัยไม่แน่ใจตัวเอง
อยู่ในวัยอายุ 2-3 ปี วัยนี้เป็นวัยที่เริ่มเดินได้ สามารถที่จะพูดได้และความเจริญเติบโตของร่ายกาย ช่วยให้เด็กมีความอิสระ พึ่งตัวเองได้ และมีความอยากรู้อยากเห็น อยากจับต้องสิ่งของต่างๆ เพื่อต้องการสำรวจว่าคืออะไร เด็กเริ่มที่อยากเป็นอิสระ เป็นตัวของตัวเอง
อยู่ในวัยอายุ 2-3 ปี วัยนี้เป็นวัยที่เริ่มเดินได้ สามารถที่จะพูดได้และความเจริญเติบโตของร่ายกาย ช่วยให้เด็กมีความอิสระ พึ่งตัวเองได้ และมีความอยากรู้อยากเห็น อยากจับต้องสิ่งของต่างๆ เพื่อต้องการสำรวจว่าคืออะไร เด็กเริ่มที่อยากเป็นอิสระ เป็นตัวของตัวเอง
ขั้นที่
3 การเป็นผู้คิดริเริ่ม – การรู้สึกผิด
วัยเด็กอายุประมาณ 3-5 ปี อีริคสันเรียกวัยนี้ว่าเป็นวัยที่เด็กมีความ คิดริเริ่มอยากจะทำอะไรด้วยตนเองจากจินตนาการของตนเอง การเล่นสำคัญมากสำหรับวัยนี้เพราะเด็กจะได้ทดลองทำสิ่งต่างๆจะสนุกจากการ สมมุติของต่างๆเป็นของจริงเช่นอาจจะใช้ลังกระดาษเป็นรถยนต์ขับรถยนต์ เหมือนผู้ใหญ่
วัยเด็กอายุประมาณ 3-5 ปี อีริคสันเรียกวัยนี้ว่าเป็นวัยที่เด็กมีความ คิดริเริ่มอยากจะทำอะไรด้วยตนเองจากจินตนาการของตนเอง การเล่นสำคัญมากสำหรับวัยนี้เพราะเด็กจะได้ทดลองทำสิ่งต่างๆจะสนุกจากการ สมมุติของต่างๆเป็นของจริงเช่นอาจจะใช้ลังกระดาษเป็นรถยนต์ขับรถยนต์ เหมือนผู้ใหญ่
***สามขั้นแรกเป็นขั้นพัฒนาการที่เกี่ยวกับเด็กปฐมวัย***
ขั้นที่
4 ความต้องการที่จะทำกิจกรรมอยู่เสมอ –
ความรู้สึกด้อย
ขั้นที่ 5 อัตภาพหรือการรู้จักว่าตนเองเป็นเอกลักษณ์
– การไม่รู้จักตนเองหรือสับสนในบทบาทในสังคม
ขั้นที่ 6
ความใกล้ชิดผูกพัน – ความอ้างว้างตัวคนเดียว
ขั้นที่
7 ความเป็นห่วงชนรุ่นหลัง –
ความคิดถึงแต่ตนเอง
ขั้นที่ 8 ความพอใจในตนเอง
– ความสิ้นหวังและความไม่พอใจในตนเอง
ทฤษฎีของอิริคสัน เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวอย่างไร
ทฤษฎีของอัลเบิร์ต แบนดูรา

1. กระบวนการดึงดูดความสนใจ
(Attentional
Process)
กิจกรรมการเรียนรู้ที่เด็กได้สังเกตตัวแบบ
และตัวแบบนั้นดึงดูดให้เด็กสนใจที่จะเลียนแบบ ควรเป็นพฤติกรรมง่าย ๆ
ไม่สลับซับซ้อน ง่ายต่อการเอาใจใส่ของเด็กที่เกิดการเลียนแบบและเกิดการเรียนรู้
2. กระบวนการคงไว้
(Retention
Process)
คือ กระบวนการบันทึกรหัสเป็นความจำ
การที่เด็กจะต้องมีความแม่นยำในการบันทึกสิ่งที่ได้เห็นหรือได้ยินเก็บเป็นความจำ
ทั้งนี้ เด็กดึงข้อมูลที่ได้จากตัวแบบออกมาใช้กระทำตามโอกาสที่เหมาะสม
เด็กที่มีอายุมากกว่าจะเรียนรู้จากการสังเกตการณ์กระทำที่ฉลาดของบุคคลอื่น ๆ ได้มากกว่า
โดยประมวลไว้ในลักษณะของภาพพจน์ และในลักษณะของภาษา และเด็กโตขึ้นนำประสบการณ์และสัญลักษณ์ต่าง
ๆ มาเชื่อมโยงและต่อมาจะใช้การเรียนรู้มีเทคนิคที่นำมาช่วยเหลือความจำ คือ
การท่องจำ การทบทวน หรือการฝึกหัด และการรวบรวมสิ่งที่เกี่ยวพันกันในเหตุการณ์
ซึ่งจะช่วยให้เขาได้เก็บสะสมความรู้ไว้ในระดับซึ่งสามารถนำมาใช้ได้เมื่อต้องการ
3.กระบวนการแสดงออก
คือการแสดงผลเรียนรู้ด้วยการกระทำคือ การที่เด็กเกิดผลสำเร็จในการเรียนรู้จากตัวแบบต่างๆ
4. กระบวนการจูงใจ
(Motivational
Process)
คือ
กระบวนการเสริมแรงให้กับเด็กเพื่อแสดงพฤติกรรมตามตัวแบบได้ถูกต้อง
โดยเด็กเกิดการเรียนรู้จากการเรียนรู้จากการเลียนแบบตัวแบบที่จะมาจากบุคคลที่มีชื่อเสียงมากกว่าบุคคลที่ไม่มีชื่อเสียง
จากการเลียนแบบตัวแบบที่มาจากบุคคลที่เป็นเพศเดียวกับเด็กมากกว่าจะเป็นเพศตรงข้ามกัน
จากการเลียนแบบตัวแบบที่เป็นรางวัล เช่น เงิน ชื่อเสียง สถานภาพทางเศรษฐกิจสูง
จากพฤติกรรมของบุคคลที่ถูกลงโทษ มีแนวโน้มที่จะไม่ถูกนำมาเลียนแบบ
และจากการที่เด็กได้รับอิทธิพลจากตัวแบบที่มีความคล้ายคลึงกับเด็ก ได้แก่ อายุ
หรือสถานภาพทางสังคม
ทฤษฎีของอัลเบิร์ต
แบนดูรา เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวอย่างไร
คือ เมื่อเด็กเห็นในสิ่งต่างๆที่ไม่เคยเห็น
ไม่ว่าจะเป็นในทีวี ในบ้าน หรือว่านอกบ้าน
สิ่งต่างที่เด็กเห็นนั้นล้วนมีการเคลื่อนไหว แสดงท่าทางต่างๆ
แล้วเมื่อเด็กจะสังเกตุ สมองของเด็กจะมีการจดจำในสิ่งพวกนั้น
แล้วนำมาทำตามหรือเรียกว่า "เลียนแบบ“
จนเกิดเป็นการเคลื่อนไหวตามสิ่งต่างๆ
ทฤษฎีการเคลื่อนไหวด้านสติปัญญา
ทฤษฎีการเรียนรู้ของธอร์นไดค์

1.
กฎแห่งความพร้อม (Law
of Readiness)2.
กฎแห่งการฝึกหัด (Law
of Exercise)
3. กฎแห่งผล (Law of Effects)
ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์
เพียเจต์ (Piaget.
1964) อธิบายว่าพัฒนาการทางสติปัญญาของคนมีลักษณะเดียวกันในช่วงอายุเท่ากัน
และแตกต่างกันในช่วงอายุต่างกัน
พัฒนาการทางสติปัญญาเป็นผลจากการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับสิ่งแวดล้อมโดยบุคคลพยายามปรับตัวให้อยู่ในสภาวะสมดุลด้วยการใช้กระบวนการดูดซึมและกระบวนการปรับให้เหมาะสมจนทำให้เกิดการเรียนรู้โดยเริ่มจากการสัมผัส
ต่อมาจึงเกิดความคิด
ทางรูปธรรมและพัฒนาไปเรื่อย
ๆ จนเกิดความคิดที่เป็นนามธรรมซึ่งเป็นการพัฒนาอย่างต่อเนื่องตามลำดับ
เพียเจต์ถือว่าการให้เด็กได้สัมผัสวัตถุต่างๆ
จะส่งเสริมให้เด็ก
เกิดการเรียนรู้ได้ โดยเฉพาะในเด็กปฐมวัยซึ่งอาศัยการรับรู้
เป็นสื่อในการกระตุ้นทางความคิดของเด็ก จำเป็นต้องให้เด็กได้มีโอกาสเคลื่อนไหว
และสัมผัสสิ่งต่างๆ
ทฤษฎีนี้เป็นประโยชน์ในการจัดเนื้อหา
กิจกรรมทางการเคลื่อนไหว
โดยให้เด็กได้สัมผัสกับวัตถุต่างๆ ที่อยู่รอบตัวเด็ก
ซึ่งจะช่วยให้เด็กเรียนรู้ในสิ่งใหม่
วันพฤหัสบดี ที่ 4 กุมภาพันธ์ 2559
วันนี้เรียนปฏิบัติค่ะ เริ่มต้นการเรียนด้วยการดูคลิปวิดีโอ Stop teen mom ที่อาจารย์เปิดให้นักศึกษาดู เป็นความรู้ในการดำเนินชีวิตให้ถูกต้อง
เมื่อพร้อมแล้วก็มาทำการฝึกสมอง เพื่อให้เกิดสมาธิและความจำดีกันก่อนจะเริ่มต้นปฏิบัติวันนี้ค่ะ
เมื่อสมาธิเกิดแล้ว เรามาเริ่มกันเลย >< อาจารย์เปิดเพลงให้นักศึกษาได้ออกมาทำท่าออกกำลังกายของตนเองหน้าชั้นเรียนแล้วให้เพื่อนๆทำตามสลับกันไปจนครบทุกคน
หลังจากเคลื่อนไหวกันไปเบาๆแล้ว อาจารย์ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 4-5 คน คิดท่าออกกำลังกายมากลุ่มละ 10 ท่า โดยเรียงลำดับจากเบาไปหนัก คือ การวอร์มอัพ และการคูลดาวน์ แล้วออกไปนำเสนอหน้าชั้นเรียนโดยครูจะเป็นคนคอยเปิดเพลงประกอบให้ กลุ่มของฉันได้วางแผนดังนี้ มี 5 คนแบ่งกันไป คนละ 2 ท่า เริ่มด้วยเบาๆคือการยืดเหยียด บิด หมุน กระโดดตบไปจนถึงการคลายกล้ามเนื้อ คูลดาวน์ค่ะ
หลังจากที่นำเสนอท่าออกกำลังกายของแต่ละกลุ่มครบเรียบร้อยแล้ว อาจารย์ก็ให้โจทย์ใหม่คือคิดท่าของตนเองไว้คนละ 3 ท่า แล้วออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียน โดยสมมติให้เพื่อนเป็นเด็กอนุบาลแล้วเราเป็นครู เราต้องมีการอธิบายขั้นตอนการทำท่าแต่ละท่าให้เด็กเข้าใจ และต้องยิ้มแย้มแจ่มใสมองสบตากบเด็กทุกคน ขณะทำกิจกรรม ต้องคำนึงถึงเด็กเล็กที่ยังไม่รู้จักซ้ายรู้จักขวาด้วย ถ้าหากเราให้เด็กยกแขนซ้ายเราต้องยกแขนขวาให้เด็กดู (ในกรณีที่เรายืนหันหน้าให้เด็ก)
การนำความรู้ไปประยุกต์
- ได้ความรู้เรื่องการจัดประสบการณ์การเคลื่อนไหวและจังหวะสามารถนำไปปรับใช้กับเด็กในอนาคตได้ โดยทำตามขั้นตอน และใช้เทคนิคการสอนได้หลากหลายจัดกิจกรรมได้อย่างถูกต้อง
- นำการเคลื่อนไหวหลายๆแบบไปใช้กับเด็กได้
- การเป็นครูแล้วอยู่หน้าชั้นเรียนต้องยิ้มแย้มแจ่มใสสบตากับเด็กเสมอเพื่อเด็กจะได้มีความรู้สึกว่าครูสนใจเขา
- ได้ความรู้ในเรื่องการคำนึงถึงเด็ก คือการใช้ซ้าย ขวา
- มีเทคนิคการเคลื่อนไหวที่แปลกใหม่ไปประยุกต์ได้
ประเมินผล
ประเมินตนเอง - เข้าใจเนื้อหาการจัดประสบการณ์การเคลื่อนไหว ทำกิจกรรมการเคลื่อนไหวได้ดี ไม่เหนื่อยเหมือนหลายอาทิตย์ที่ผ่านมาอาจเพราะร่างกายแข็งแรงขึ้น 5555
ประเมินเพื่อน - เพื่อนทุกคนตั้งใจเรียน ทำกิจกรรมการเคลื่อนไหวได้ดีมีท่าแปลกใหม่มานำเสนอ

ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น