วันอังคารที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 2
วันจันทร์ ที่ 18 มกราคม 2559


เนื้อหาการเรียน

การจัดประสบการณ์การเคลื่อนไหวและจังหวะ
          
            หมายถึง กิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อให้เด็กได้เคลื่อนไหวส่วนต่างๆของร่างกายตามจังหวะอย่างอิสระ โดยจังหวะและดนตรีที่ใช้ประกอบมาประกอบการเคลื่อนไหว เพื่อส่งเสริมให้เด็กเกิดจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ เรียนรู้จังหวะ และควบคุมการเคลื่อนไหวของตนเองได้

สัญญาณหรือสัญลักษณ์ที่ใช้กำหนดตามความช้าความเร็วของการเคลื่อนไหว
1 เสียงจากคน เช่น การนับ การออกเสียงคำ
2 เสียงจากเครื่องดนตรี
3 การตบมือ หรือดีดนิ้ว เป็นจังหวะ

ความสำคัญของการเคลื่อนไหวและจังหวะช่วยให้เด็กเรียนรู้
- การเคลื่อนไหวของส่วนต่างๆ
- เรียนรู้และชอบ
- เข้าใจประโยชน์ของการเคลื่อนไหว
- พัฒนาการทางสร้างสรรค์
- ขีดจำกัดความสามารถ
- เทคนิคและวิธีคิดค้น
 * และยังส่งเสริมพัฒนาการด้าน EQ ด้วย

ขอบข่ายการจัดกิจกรรมตามความพร้อมและความสนใจ
1 การเคลื่อนไหวพื้นฐาน 2 รูปแบบ เคลื่อนไหวอยู่กับที่ การเคลื่อนไหวเคลื่อนที่
2 การเคลื่อนไหวเล่นเลียนแบบ
3 การเคลื่อนไหวตามบทเรียน
4 การเล่นเกมประกอบเพลง
5 การเคลื่อนไหวเชิงสร้างสรรค์
6 การเล่นเป็นเรื่องราวหรือนิยาย

องค์ประกอบของการเคลื่อนไหวและจังหวะ
1 การรู้จักส่วนต่างๆของร่างกาย
2 บริเวณและเนื้อที่
3 ระดับของการเคลื่อนไหว สูง กลาง ต่ำ
4 ทิศทางของการเคลื่อนไหว ซ้าย ขวา หน้า หลัง บน ล่าง
5 การฝึกจังหวะ     - การทำจังหวะด้วยการใช้ส่วนต่างๆของร่างกาย
                              - การทำจังหวะด้วยการเปล่งเสียง
                              - การทำจังหวะด้วยการใช้เครื่องเคาะจังหวะ
                              - การทำจังหวะด้วยการเคลื่อนไหว

หลักการจัดกิจกรรม
พยายามใช้สิ่งของที่อยู่รอบตัวเด็ก
ครูควรกำหนดจังหวะ สัญญาณนัดหมาย
การสร้างบรรยากาศอิสระในห้องเรียน
ครูไม่ควรบังคับเด็กให้เข้าร่วมกิจกรรมและจัดให้มีการเล่นเกม
ครูจัดเพลงช้าๆสร้างความรู้สึกผ่อนคลาย สนุกสนาน
ครูต้องจัดกิจกรรมทุกวัน ประมาณ 15-20 นาที

เนื้อหาการจัดกิจกรรม
การเคลื่อนไหวตามจินตนาการ
เคลื่อนไหวประกอบจังหวะและดนตรี
การฝึกการเป็นผู้นำ ผู้ตาม
การฝึกความจำ
การเคลื่อนไหวประกอบอุปกรณ์ / /ประกอบเพลง
การเคลื่อนไหวตามจังหวะและสัญญาณ
การฟังและปฏิบัติตามคำสั่ง / คำบรรยาย

แนวทางการประเมิน
1 สังเกตการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆของร่างกาย
2 สังเกตการทำท่าแปลกใหม่ ไม่ซ้ำกัน
3 สังเกตท่าทางตามคำสั่ง
4 สังเกตการแสดงออก
5 สังเกตความสนใจในการเข้าร่วมกิจกรรม

วันพฤหัสบดี ที่ 21 มกราคม 2559

      หลังจากที่เก็บเกี่ยวความรู้ในเรื่องทฤษฎีกันไปเรียบร้อยแล้ว เราก็จะมาเข้าสู่การปฏิบัติ สำหรับการปฏิบัติวันนี้เป็นการเต้นประกอบเพลง >.< จะสนุกแค่ไหนไปดูกัน
Let see >.<

ท่าเต้นแต่ละคนเด็ดๆทั้งนั้นเลย
คู่เต้นที่น่ารักสำหรับวันนี้ค่ะ



และนี่ คลิปวิดีโอการเต้นของฉันเอง เพลง ดั่งดอกไม้บานค่ะ 55555555555 เพื่อนสาธุกันใหญ่เลย เป็นเพลงที่ดีมากค่ะจิตใจสงบสมาธิเกิดแน่นอนค่ะ คอนเฟริม >..<

กิจกรรมต่อมา ฝึกสมาธิด้วยท่าประจำเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเคลื่อนไหวขั้นต่อไป อาจารย์ได้อธิบายว่า การเคลื่อนไหวที่ต้องจัดประสบการณ์ให้กับเด็กมี 3 ขั้น คือ
1 ขั้นนำ เคลื่อนไหวพื้นฐาน
2 ขั้นสอน เคลื่อนไหวสัมพันธ์เนื้อหา เช่น หน่วยปลา ทำท่าปลา
3 ขั้นสรุป การผ่อนคลาย ยืดเหยียดกล้ามเนื้อ


การเคลื่อนไหวอยู่กับที่ เช่น การบิด ยืด กระโดดอยู่กับที่ หมุนคอ ไหล่ แขน เท้า 


การเคลื่อนไหวแบบเคลื่อนที่ เช่น การเดิน การวิ่ง การสไลด์ การกลิ้ง การย่อง เป็นต้น

        ครูได้สาธิตขั้นตอนการจัดประสบการณ์กับเด็ก คือ กิจกรรมเคลื่อนไหวต้องให้เด็กเคลื่อนที่ไปรอบๆห้อง หาพื้นที่เป็นของตนเองลองกางแขนออกให้เห็นว่าไม่ชนกับเพื่อน เมื่อได้พื้นที่ที่เหมาะสมแล้วก็จะเริ่มทำกิจกรรมตามขั้นตอน และครูต้องทำไปพร้อมๆกับเด็ก มีอุปกรณ์ประกอบกิจกรรมเพื่อเป็นสัญญาณให้แกเด็กด้วย



การนำความรู้ไปประยุกต์

- ได้ความรู้เรื่องการจัดประสบการณ์การเคลื่อนไหวและจังหวะสามารถนำไปปรับใช้กับเด็กในอนาคตได้ โดยทำตามขั้นตอน และใช้เทคนิคการสอนได้หลากหลายจัดกิจกรรมได้อย่างถูกต้อง 
- นำการเคลื่อนไหวหลายๆแบบไปใช้กับเด็กได้

ประเมินผล
ประเมินตนเอง เข้าใจเนื้อหาการจัดประสบการณ์การเคลื่อนไหว ทำกิจกรรมการเต้นวันนี้ก็ดีค่ะสงบดี ได้เคลื่อนไหวด้วย สัดส่วนลงเลยค่ะการเรียนวันนี้
ประเมินเพื่อน - เพื่อนทุกคนตั้งใจเต้นมากค่ะ เพื่อนชอบเต้น ท่าทุกคนนี่เด็ดๆทั้งนั้นเลยค่ะ
ประเมินอาจารย์ - อาจารย์น่ารักทุกวันเลยค่ะ เป็นกันเองกับนักศึกษา สอนสนุกไม่เครียด มีเทคนิคมานำเสนอตลอดเพื่อเป็นให้นักศึกษามีสมาธิมากขึ้นในการทำกิจกรรม ในส่วนของทฤษฎีอาจารย์อธิบายได้ละเอียดมากค่ะ ดีมากค่ะเรียนวิชานี้ >..<








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น