วันพุธที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3
วันจันทร์ ที่ 25 มกราคม 2559


เนื้อหาการเรียน
*เริ่มต้นเรียนด้วยการทบทวนเนื้อหาเมื่อสัปดาห์ที่แล้วแล้วต่อด้วยเนื้อหาการจัดประสบการณ์เคลื่อนไหวและจังหวะต่อ

ประเภทของกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
1 การเคลื่อนไหวเกี่ยวกับร่างกาย
   1.1 การเคลื่อนหวแบบเคลื่อนที่ขั้นพื้นฐาน การเดิน การวิ่ง กระโดด การคลาน
   1.2 การเคลื่อนหวแบบไม่เคลื่อนที่ การดัน การบิด กาเหยียด
2 การเคลื่อนที่เกี่ยวข้องกับวัตถุ
   2.1 การทำให้วัตถุอยู่นิ่ง เช่น การรับ การหยุด
   2.2 การทำให้วัตถุเคลื่อนที่ เช่น การขว้าง การตี

   Sapore and Mitehell ได้แบ่งการเคลื่อนไหวออก 2 ประเภท
1 การเคลื่อนไหวขั้นพื้นฐาน หมายถึง การเคลื่อนไหวที่ต้องใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ของลำตัว
2 การเคลื่อนหวเสริม หมายถึง การเคลื่อนไหวที่พัฒนาภายหังจากการเคลื่อนหวขั้นพื้นฐาน (เช่น การพิมพ์ดีด การเคลื่อนไหวเสริมคือใบหน้า)
ประเภทของกิจกรรมเคลื่อนไหวเข้าจังหวะ แบ่งออกเป็น
1 ประเภทเคลื่อนไหวพื้นฐานตามจังหวะ
2 ประเภทฝึกปฏิบัติตามสัญญาณหรือข้อตกลง
3 ประเภทกิจกรรมเนื้อหา
4 ฝึกจินตนาการจากคำบรรยาย
5 ประเภทกิจกรรมฝึกความจำ (เช่น ชูบัตรคำ เช่น ภาพนก เด็กทำท่าบิน ภาพกบ เด็กทำท่ากระโดด)

เยาวพา  เดชะคุปต์ (2542)  ได้กล่าวถึงการเคลื่อนไหวพื้นฐานหรือการเน้นจังหวะไว้ว่า การปูพื้นฐานที่ดีจะช่วยส่งเสริมให้เด็กมีความสามารถในด้านจังหวะ ความคิดสร้างสรรค์ และจินตนาการ เช่น
  - ปรบมือตามครูให้เข้ากับจังหวะ
  - เต้นย่ำเท้าตามจังหวะของเสียงเพลง
  - ย่ำเท้าตามจังหวะที่ครูเคาะหรือให้สัญญาณ
  - กระโดดตามจังหวะที่ครูให้สัญญาณ
  - การทำท่าเลียนแบบการเคลื่อนไหวของสัตว์ชนิดต่างๆ
  - การเลียนแบบสัตว์ เช่น นก ไก่ แมว หมา ฯลฯ หรือเลียนเสียงตามแบบสิ่งของต่างๆ เช่น เสียงนาฬิกา เสียงหวูดรถไฟ เป็นต้น

การเคลื่อนไหวเบื้องต้น
  • เมื่อได้ยินจังหวะดังเน้นหนัก เด็กอาจนึกถึง การเดินแถวแบบทหารหรือการควบม้า
  • เมื่อได้ยินเสียงจังหวะที่เบาๆและช้าๆเด็กอาจนึกถึงการเคลื่อนไหวของใบไม้ที่ต้องลมว่าวกำลังลอย เป็นต้น
การเคลื่อนไหวประกอบเพลง
  • การเล่นเกมประกอบเพลง เช่น เก้าอี้ดนตรี เปิดเพลงส่งของ
  • การเล่นเกมต่างๆของไทย เช่น มอญซ่อนผ้า ูกินหาง รีรีข้าวสาร
  • การเคลื่อนไหวประกอบเพลง เช่น เคลื่อนไหวประกอบเพลงกระต่าย
  • การเต้นรำพื้นเมือง
เพลงที่มีท่าทางประกอบและการเล่นประกอบเพลง
           เป็นการเคลื่อนไหวที่ช่วยส่งเสริมให้เด็กได้หัดรวบรวมความคิด และสนใจในสิ่งที่กำลังทำอยู่ เด็กรู้จักบังคับการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น นิ้วมือ แขน ขา มือให้เกิดขึ้นพร้อมๆ กันตามจังหวะ
การเคลื่อนไหวแบบไม่เคลื่อนที่
การก้มตัว
การเหยียดตัว
การบิดตัวการหมุนตัว
การโยกตัว
การแกว่งหรือหมุนเวียน —
การโอนเอน
การดัน
การสั่น
การตี
การเคลื่อนไหวแบบเคลื่อนที่
การเดิน การวิ่ง การกระโดดเขย่ง การกระโจน การโดดสลับเท้า การสไลด์ การควบม้า
การเคลื่อนไหวมี 3 ระดับ
  • สูง เช่น การเขย่ง
  • กลาง ระดับปกติของเรา
  • ต่ำ เช่น ก้ม
การรู้จักส่วนต่างๆของร่างกาย

      การเตรียมร่างกายให้พร้อมเพื่อให้เด็กมีความคล่องตัว เด็กต้องรู้ว่าร่างกายแต่ละส่วนเคลื่อนไหวอย่างไรและเคลื่อนไหวได้มากน้อยเพียงใดตามช่วงวัย ให้เด็กได้รู้จักร่างกายว่าชื่ออะไร อยู่ตรงไหน

บริเวณและเนื้อที่
       การเคลื่อนไหวไม่ว่าจะเป็นเพียงการขยับเขยื้อนร่างกายบางส่วนหรือการเคลื่อนตัวย่อมต้องการบริเวณและเนื้อที่ที่จะเคลื่อนไหวได้จากจุดหนึ่งไปยังจุดหนึ่งตลอดเวลา บริเวณเนื้อที่จึงเป็นส่วนหนึ่งของการเคลื่อนไหว การใช้เนื้อที่ทั่วไปในขอบเขตที่กำหนดคือการเคลื่อนตัวจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่ง ไม่ว่าจะโดยลำพังหรือเคลื่อนเป็นกลุ่ม เวลาที่เด็กเคลื่อนไหวเด็กสามารถจัดระยะระหว่างตนเองกับผู้อื่น โดยไม่ให้ชนกับผู้ใดและเปิดโอกาสให้ผู้อื่นได้มีอิสระในการเคลื่อนไหว ซึ่งอาจจะมีเล็กบ้าง ใหญ่บ้างเด็กจะต้องรู้จักใช้เนื้อที่ให้เต็มและได้จังหวะ

ระดับการเคลื่อนไหว
      ระดับการเคลื่อนไหวทุกชนิดหารไม่มีการเปลี่ยนแปลงระดับความสวยงาม ความสมดุล ความเหมาะสมและท่าทางที่หลากหลายจะไม่เกิดขึ้น จะปรากฏแต่ความจำเจ ซ้ำซาก ไม่น่าดู ดังนั้นจึงควรมีการเปลี่ยนระดับของการเคลื่อนไหวตลอดเวลา เช่น เซิ้งอีสาน หรือรำกลองยาว มีการก้ม เงย แขนโบกขึ้นลง มียืน นั่ง กระโดด ฯลฯ การเปลี่ยนระดับทำให้เกิดท่าทางและการเคลื่อนไหวที่แตกต่างกันออกไป การเคลื่อนไหวมี 3 ระดับ คือ สูง กลาง ต่ำ

ทิศทางการเคลื่อนไหว
—            การเคลื่อนไหวย่อมมีทิศทางไปข้างหน้า ไปข้างหลัง ไปข้างๆ หรือเคลื่อนตัวไปรอบทิศ (คือหมุนตัวไปทุกทิศทุกทาง)  ถ้าไม่ได้รับการฝึกไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่มักจะเคลื่อนไหวไปข้างหน้าเพียงอย่างเดียว

การฝึกจังหวะ มี 3 จังหวะ ช้า เร็ว หยุด
—              การทำจังหวะนั้นมิได้หมายถึงการกำกับจังหวะด้วยการตบมือ เคาะเท้าหรือใช้เครื่องให้จังหวะอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น แต่หมายถึงการทำจังหวะด้วยวิธีต่างๆ ซึ่งอาจจะขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวร่างกายส่วนใดส่วนหนึ่ง การเปล่งเสียงออกจากลำคอ การทำให้ร่างกายส่วนต่างๆ เกิดเสียงก็ได้ทั้งสิ้น การทำจังหวะแบ่งออกเป็น 4 วิธี
  1. การทำจังหวะด้วยการใช้ส่วนต่างๆ ของร่างกาย
  2. การทำจังหวะด้วยการเปล่งเสียง
  3. การทำจังหวะด้วยการใช้เครื่องเคาะจังหวะ
  4. การทำจังหวะด้วยการเคลื่อนไหว

การเคลื่อนไหวพื้นฐาน
การเคลื่อนไหวพื้นฐานแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. การเคลื่อนไหวอยู่กับที่ ได้แก่ การเคลื่อนไหวส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย ณ จุดใดจุดหนึ่ง โดย ร่างกายจะไม่เคลื่อนออกไปจากจุดนั้นเลย
2. การเคลื่อนไหวที่เคลื่อนที่ ได้แก่ การเคลื่อนที่จากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง ได้แก่ การเดิน การวิ่ง การ กระโดด ฯลฯ
วัตถุประสงค์ของกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
1. พัฒนาอวัยวะทุกส่วนของร่างกายให้ได้เคลื่อนไหวอย่างสัมพันธ์กัน
2. ให้เด็กได้ผ่อนคลายความตึงเครียด
3. ให้เด็กได้รับประสบการณ์ ความสนุกสนาน รื่นเริง โดยผ่านกิจกรรมการเคลื่อนไหวที่หลากหลาย
4. สนองความต้องการตามธรรมชาติ ความสนใจและความพอใจของเด็ก
5. ให้เด็กเกิดความซาบซึ้งและมีสุนทรียภาพในการเคลื่อนไหวอย่างเสรีตามจังหวะ รวมทั้งเกิดทักษะ ในการฟังดนตรีหรือจังหวะต่างๆ
6. พัฒนาทักษะด้านสังคม การปรับตัว และความร่วมมือในกลุ่ม
7. ให้เด็กมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และให้เด็กได้มีโอกาสแสดงออกอย่างสร้างสรรค์
8. พัฒนาภาษา ฝึกฟังคำสั่งข้อตกลง และปฏิบัติตามได้
9. ฝึกการเป็นผู้นำผู้ตามที่ดี

การเตรียมร่างกาย
วิธีการศึกษาการเตรียมร่างกาย
1. ให้รู้จักส่วนต่างๆ ของร่างกายว่าชื่ออะไร อยู่ตรงไหน และมีส่วนใดบ้างที่เคลื่อนไหวได้ มาก น้อย เพียงใด  
2. ขณะเคลื่อนไหว ควรฝึกให้เด็กรู้ตัวว่าร่างกายหรืออวัยวะส่วนใดกำลังเคลื่อนไหวหรือทำอะไรอยู่
ตัวอย่างการฝึกเตรียมร่างกาย  
1. ให้เด็กแตะสัมผัสส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น ศีรษะ คอ ไหล่ สะโพก ฯลฯ โดยครูบอกให้เด็กได้รู้จักชื่อและสามารถชี้ส่วนต่างๆ ของร่างกายว่ามีอะไรบ้าง  
2. ให้เด็กลองสำรวจร่างกายดูว่า ส่วนใดเอนเอียงโค้งงอ เหวี่ยง หมุนกวัดแกว่งได้มากน้อย เพียงใด 
3. ให้เด็กชี้ตามส่วนต่างๆ ของร่างกายทีละส่วนอย่างรวดเร็ว เช่น แขน ข้อศอก ข้อมือ นิ้วมือ ตา จมูก ข้อเท้า เข่า ฯลฯ และให้ลองขยับเขยื้อนดูทีละส่วน
4. ให้เด็กหาพื้นที่ให้ตัวเองและลองจัดท่าทาง โดยเน้นให้จัดแขน ขา หรือลำตัวส่วนใดส่วนหนึ่ง แล้วอยู่นิ่งในท่านั้น สลับกันไป 
แนวทางการประเมิน
1. สังเกตการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกาย
2. สังเกตการทำท่าทางแปลกใหม่ ไม่ซ้ำกัน
3. สังเกตการทำท่าทางตามคำสั่งและข้อตกลง
4. สังเกตการแสดงออก
5. สังเกตความสนใจในการเข้าร่วมกิจกรรม


เรียนรู้การทำงานของสมอง













*จากรูปด้านบน กิจกรรมเสริมระหว่างเรียน ให้นักเรียนทดทอบการทำงานของสมอง วิธีการเล่นก็ง่ายๆ คือให้นักเรียน   ดูภาพ แล้วบอกว่าสีที่เห็นในภาพคือสีอะไร หากเป็นเด็กอนุบาลเด็กจะอ่านคำจากสี จากกิจกรรมดังกล่าวสามารถสรุปได้ว่า สมองซีกขวาของนักเรียนพยายามสั่งการให้เราบอกสีตามที่เห็น แต่สมองซีกซ้ายนั้นพยายาม ที่จะสั่งให้นักเรียนพูดตามคำศัพท์ที่เราอ่าน ใครที่แบ่งแยกการทำงานของสมองซีกซ้าย และซีกขวาได้ดี ก็จะสามารถบอกสีได้ถูกต้องไม่ติดขัด กิจกรรมช่วยสร้างความสนุกสนาน ระหว่างการเรียนการสอน สามารถเรียนเสียงหัวเราะจากนักเรียนผ่อนคลายความตึงเครียด ช่วยส่งเสริมให้นักเรียนกล้าแสดงออก



คลิปวิดีโอการบริหารสมอง





การนำความรู้ไปประยุกต์

- ได้ความรู้ในการจัดประสบการณ์เรื่องการเคลื่อนไหวพื้นฐาน การเคลื่อนไหวเบื้องต้น การที่จะเคลื่อนไหวต้องมีการเตรียมร่างกายให้พร้อมด้วย
- สามารถนำความรู้เรื่องการบริหารสมองไปใช้ทำให้มีความจำดีและการทำงานของสมองมีประสิทธิภาพ มีสมาธิ สามารถนำไปเป็นการเริ่มต้นการเรียนของเด็กได้ด้วย

ประเมินผล
ประเมินตนเอง เข้าใจเนื้อหาของการจัดประสบการณ์การเคลื่อนไหว และการบริหารสมอง
ประเมินเพื่อน - เพื่อนทุกคนตั้งใจเรียน ตั้งใจฟังครูสอน
ประเมินอาจารย์ - อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา บรรยายเนื้อหาอย่างละเอียด สิ่งไหนที่ไม่เข้าใจ อาจารย์ก็จะอธิบายซ้ำเพิ่มเติมให้เข้าใจและให้นักศึกษาเห็นภาพมากขึ้น อาจารย์อารมณ์ดียิ้มแย้มแจ่มใสจึงทำให้บรรยากาศในการเรียนไม่เครียด ^^




วันอังคารที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 2
วันจันทร์ ที่ 18 มกราคม 2559


เนื้อหาการเรียน

การจัดประสบการณ์การเคลื่อนไหวและจังหวะ
          
            หมายถึง กิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อให้เด็กได้เคลื่อนไหวส่วนต่างๆของร่างกายตามจังหวะอย่างอิสระ โดยจังหวะและดนตรีที่ใช้ประกอบมาประกอบการเคลื่อนไหว เพื่อส่งเสริมให้เด็กเกิดจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ เรียนรู้จังหวะ และควบคุมการเคลื่อนไหวของตนเองได้

สัญญาณหรือสัญลักษณ์ที่ใช้กำหนดตามความช้าความเร็วของการเคลื่อนไหว
1 เสียงจากคน เช่น การนับ การออกเสียงคำ
2 เสียงจากเครื่องดนตรี
3 การตบมือ หรือดีดนิ้ว เป็นจังหวะ

ความสำคัญของการเคลื่อนไหวและจังหวะช่วยให้เด็กเรียนรู้
- การเคลื่อนไหวของส่วนต่างๆ
- เรียนรู้และชอบ
- เข้าใจประโยชน์ของการเคลื่อนไหว
- พัฒนาการทางสร้างสรรค์
- ขีดจำกัดความสามารถ
- เทคนิคและวิธีคิดค้น
 * และยังส่งเสริมพัฒนาการด้าน EQ ด้วย

ขอบข่ายการจัดกิจกรรมตามความพร้อมและความสนใจ
1 การเคลื่อนไหวพื้นฐาน 2 รูปแบบ เคลื่อนไหวอยู่กับที่ การเคลื่อนไหวเคลื่อนที่
2 การเคลื่อนไหวเล่นเลียนแบบ
3 การเคลื่อนไหวตามบทเรียน
4 การเล่นเกมประกอบเพลง
5 การเคลื่อนไหวเชิงสร้างสรรค์
6 การเล่นเป็นเรื่องราวหรือนิยาย

องค์ประกอบของการเคลื่อนไหวและจังหวะ
1 การรู้จักส่วนต่างๆของร่างกาย
2 บริเวณและเนื้อที่
3 ระดับของการเคลื่อนไหว สูง กลาง ต่ำ
4 ทิศทางของการเคลื่อนไหว ซ้าย ขวา หน้า หลัง บน ล่าง
5 การฝึกจังหวะ     - การทำจังหวะด้วยการใช้ส่วนต่างๆของร่างกาย
                              - การทำจังหวะด้วยการเปล่งเสียง
                              - การทำจังหวะด้วยการใช้เครื่องเคาะจังหวะ
                              - การทำจังหวะด้วยการเคลื่อนไหว

หลักการจัดกิจกรรม
พยายามใช้สิ่งของที่อยู่รอบตัวเด็ก
ครูควรกำหนดจังหวะ สัญญาณนัดหมาย
การสร้างบรรยากาศอิสระในห้องเรียน
ครูไม่ควรบังคับเด็กให้เข้าร่วมกิจกรรมและจัดให้มีการเล่นเกม
ครูจัดเพลงช้าๆสร้างความรู้สึกผ่อนคลาย สนุกสนาน
ครูต้องจัดกิจกรรมทุกวัน ประมาณ 15-20 นาที

เนื้อหาการจัดกิจกรรม
การเคลื่อนไหวตามจินตนาการ
เคลื่อนไหวประกอบจังหวะและดนตรี
การฝึกการเป็นผู้นำ ผู้ตาม
การฝึกความจำ
การเคลื่อนไหวประกอบอุปกรณ์ / /ประกอบเพลง
การเคลื่อนไหวตามจังหวะและสัญญาณ
การฟังและปฏิบัติตามคำสั่ง / คำบรรยาย

แนวทางการประเมิน
1 สังเกตการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆของร่างกาย
2 สังเกตการทำท่าแปลกใหม่ ไม่ซ้ำกัน
3 สังเกตท่าทางตามคำสั่ง
4 สังเกตการแสดงออก
5 สังเกตความสนใจในการเข้าร่วมกิจกรรม

วันพฤหัสบดี ที่ 21 มกราคม 2559

      หลังจากที่เก็บเกี่ยวความรู้ในเรื่องทฤษฎีกันไปเรียบร้อยแล้ว เราก็จะมาเข้าสู่การปฏิบัติ สำหรับการปฏิบัติวันนี้เป็นการเต้นประกอบเพลง >.< จะสนุกแค่ไหนไปดูกัน
Let see >.<

ท่าเต้นแต่ละคนเด็ดๆทั้งนั้นเลย
คู่เต้นที่น่ารักสำหรับวันนี้ค่ะ



และนี่ คลิปวิดีโอการเต้นของฉันเอง เพลง ดั่งดอกไม้บานค่ะ 55555555555 เพื่อนสาธุกันใหญ่เลย เป็นเพลงที่ดีมากค่ะจิตใจสงบสมาธิเกิดแน่นอนค่ะ คอนเฟริม >..<

กิจกรรมต่อมา ฝึกสมาธิด้วยท่าประจำเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเคลื่อนไหวขั้นต่อไป อาจารย์ได้อธิบายว่า การเคลื่อนไหวที่ต้องจัดประสบการณ์ให้กับเด็กมี 3 ขั้น คือ
1 ขั้นนำ เคลื่อนไหวพื้นฐาน
2 ขั้นสอน เคลื่อนไหวสัมพันธ์เนื้อหา เช่น หน่วยปลา ทำท่าปลา
3 ขั้นสรุป การผ่อนคลาย ยืดเหยียดกล้ามเนื้อ


การเคลื่อนไหวอยู่กับที่ เช่น การบิด ยืด กระโดดอยู่กับที่ หมุนคอ ไหล่ แขน เท้า 


การเคลื่อนไหวแบบเคลื่อนที่ เช่น การเดิน การวิ่ง การสไลด์ การกลิ้ง การย่อง เป็นต้น

        ครูได้สาธิตขั้นตอนการจัดประสบการณ์กับเด็ก คือ กิจกรรมเคลื่อนไหวต้องให้เด็กเคลื่อนที่ไปรอบๆห้อง หาพื้นที่เป็นของตนเองลองกางแขนออกให้เห็นว่าไม่ชนกับเพื่อน เมื่อได้พื้นที่ที่เหมาะสมแล้วก็จะเริ่มทำกิจกรรมตามขั้นตอน และครูต้องทำไปพร้อมๆกับเด็ก มีอุปกรณ์ประกอบกิจกรรมเพื่อเป็นสัญญาณให้แกเด็กด้วย



การนำความรู้ไปประยุกต์

- ได้ความรู้เรื่องการจัดประสบการณ์การเคลื่อนไหวและจังหวะสามารถนำไปปรับใช้กับเด็กในอนาคตได้ โดยทำตามขั้นตอน และใช้เทคนิคการสอนได้หลากหลายจัดกิจกรรมได้อย่างถูกต้อง 
- นำการเคลื่อนไหวหลายๆแบบไปใช้กับเด็กได้

ประเมินผล
ประเมินตนเอง เข้าใจเนื้อหาการจัดประสบการณ์การเคลื่อนไหว ทำกิจกรรมการเต้นวันนี้ก็ดีค่ะสงบดี ได้เคลื่อนไหวด้วย สัดส่วนลงเลยค่ะการเรียนวันนี้
ประเมินเพื่อน - เพื่อนทุกคนตั้งใจเต้นมากค่ะ เพื่อนชอบเต้น ท่าทุกคนนี่เด็ดๆทั้งนั้นเลยค่ะ
ประเมินอาจารย์ - อาจารย์น่ารักทุกวันเลยค่ะ เป็นกันเองกับนักศึกษา สอนสนุกไม่เครียด มีเทคนิคมานำเสนอตลอดเพื่อเป็นให้นักศึกษามีสมาธิมากขึ้นในการทำกิจกรรม ในส่วนของทฤษฎีอาจารย์อธิบายได้ละเอียดมากค่ะ ดีมากค่ะเรียนวิชานี้ >..<








วันพฤหัสบดีที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 1
วันพฤหัสบดี ที่ 14 มกราคม 2559

....วันนี้เริ่มต้นการเรียนด้วยการที่อาจารย์อธิบายแนวการสอน และให้ความรู้ข้อมูลการจัดประสบการณ์การเคลื่อนไหวสำหรับเด็กปฐมวัย เด็กปฐมวัยควรจะได้เคลื่อนไหวร่างกายอย่างอิสระโดยใช้เสียงเพลงจังหวะ ทำนอง ประกอบ เพื่อความแข็งแรงของร่างกายจำต้องมีการจัดกิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะทุกวัน มักจะจัดในตอนเช้าเป็นเวลา 15-30 นาที


กิจกรรมวันนี้

ขั้นแรกครูให้นักศึกษายืนขึ้นและฝึกทำท่ากระตุ้นประสาท เพื่อให้สมองผ่อนคลายมีความพร้อมต่อการเรียน และครูจะให้กระตุ้นประสาทก่อนเรียนทุกๆคาบ เพื่อเราจะได้ฉลาดขึ้น



และวันนี้ เต้น T26 ครูนกเล็ก เต้นประกอบเพลง โดยที่ทำท่าสัตว์ต่างๆ อันดับแรกคือให้ดูวีดีโอก่อน แล้วลุกขึ้นมาเต้นไปพร้อมๆกัน ต่อมาครูให้นักศึกษาคิดท่าสัตว์ของตัวเองมาคนละ 1 ท่าแล้วออกมาเต้นนำให้เพื่อนเต้นตามโดยมีครูเต้นและร้องเพลงไปพร้อมๆกับพวกเราด้วยน่ารักมากเลยค่ะ (ฉันคิดท่านกค่ะ กางปีกแล้วบิน เสียงร้องจิบจิบ 555555)



ต่อไปเต้นตามเพลง T26 โบกโบ๊กโบก เพลงประกอบภาพยนตร์ป้าแฮปปี้ ชีท่าเยอะค่ะ ท่าแรกย่ำเท้าอยู่กับที่ ท่าต่อไปโบกแท็กซี่ ท่ารีดผ้า และท่าปั่นจักรยานค่ะ





หลังจากที่เต้นกันอย่างเมามันส์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว คือ เหนื่อยค่ะเหงื่อนี่ออกเลยถึงแม้จะอยู่ในห้องแอร์ 5555555555555 ครูน่ารักมากค่ะให้นั่งพัก 10 นาที ระหว่างที่นั่งพักครูก็เปิดวีดีโอเกี่ยวครูให้ดู เพื่อนๆนี่ซึ้งร้องไห้น้ำตาไหลกันเลยค่ะ ครูจึงเรียกความเฮฮาของนักศึกษากลับมาโดยการเปิดคลิปวีดีโอสนุกๆให้ดู และเมื่อนักศึกษากลับมาเฮฮามีความสุขแล้ว ครูได้เปิดโอกาสให้เพื่อนในห้องออกมาแสดงความสามารถด้านการเต้น การร้องเพลง ให้ดูและฟังค่ะ

v
v





เพื่อนเก่งมาก มีความสุขมากค่ะ >.<

ก่อนกลับบ้านครูให้ศึกษาออกมาเต้นเพลง T26 โดยใช้ท่าที่ทำในชีวิตประจำวัน เช่า ท่าซักผ้า ถูบ้าน ท่าปะแป้ง ท่าสระผม ท่าทำกับข้าว เป็นต้นค่ะ (ฉันคิดท่าล้างหน้าค่ะ ตลกดี 5555)




การนำความรู้ไปประยุกต์

- ได้ความรู้เรื่องการจัดประสบการณ์การเคลื่อนไหวและจังหวะสามารถนำไปปรับใช้กับเด็กในอนาคตได้ โดยการนำเพลง T26 ไปปรับปรุงเป็นท่าทางของสัตว์และการใช้ชีวิตประจำวันด้วย นอกจากเด็กจะร่างกายแข็งแรงแล้วเด็กยังได้ความรู้อีกด้วย


ประเมินผล
ประเมินตนเอง เข้าใจเนื้อหาการจัดประสบการณ์ ทำกิจกรรมการเต้นได้ดีแต่ก็ตลกตัวเองค่ะ5555
ประเมินเพื่อน - เพื่อนทุกคนตั้งใจเต้นมากค่ะ เพื่อนชอบ ท่าทุกคนนี่เด็ดๆทั้งนั้นเลยค่ะ
ประเมินอาจารย์ - อาจารย์เป็นกันเอง น่ารักมากค่ะ ร่วมทำกิจกรรกับนักศึกษาทำให้มีความสุขมากค่ะ